วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟ้องซ้อน วิ.แพ่ง 173 วรรค 2 (1)






 ฟ้องซ้อน   173 วรรค 2 (1)
มาตรา 173    เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง  ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา  และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น
หลักเกณฑ์สำคัญ
คำว่า   ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น”  หมายความว่าโจทก์จะยื่นคำฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อศาลนั้นไม่ได้หรือต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
1.            ห้ามโจทก์ฟ้อง
2.            ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
3.            ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4.            คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
5.            ไม่จำกัดศาลว่าต้องเป็นศาลเดียวกัน



หลักเกณฑ์ข้อที่ 1  โจทก์หมายถึง
1.            โจทก์เดิม
2.            จำเลยผู้ฟ้องแย้ง  ซึ่งมีฐานนะเป็นโจทก์ในคำฟ้องแย้ง
3.            ผู้ร้องขัดทรัพย์  เพราะเมื่อมีการร้องขัดทรัพย์ ในคดีร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องเป็นโจทก์ โจทก์เดิมเป็นจำเลย
4.            ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (1)  เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 มีฐานะเป็นโจทก์เช่นกัน
5.            ผู้ร้องสอดโดยสมัครใจตามมาตรา 57(2)

หลักเกณฑ์ข้อที่  2    ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน     หมายความว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายคดีก่อน และคดีหลังต้องเป็นคู่ความเดียวกัน  ต้องเป็นโจทก์ จำเลยคนเดียวกันรวมทั้งผู้สืบสิทธิ  ถ้าพลัดกันเป็นโจทก์ เป็นจำเลยก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องฟ้องซ้อน
ฎีกาที่  2579/2525     การที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อนแล้วขาดนัดยื่นคำให้การ    และคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้น  หาได้มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่  เพราะไม่ใช่เป็นกรณีฟ้องซ้อนตาม ป... .173วรรคสอง (1) เนื่องจากโจทก์ในคดีนี้มิได้เป็นโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ม.148    เพราะคดีก่อนยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ฎีกาที่  702/2524    ผู้จัดการมรดกในฐานะตัวแทนของทายากรวมทั้งโจทก์ในคดีนั้นเป็นโจทก์    ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาท   คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  โจทก์ในคดีนี้มาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาทเดียวกันอีก  ฟ้องทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน  เพราะสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน     จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป... .173  (ถ้าฟ้องในฐานนะผู้จัดการมรดกหมายถึงการฟ้องแทนทายาททุกคน)
-                   ผู้ร้องสอด  มีสองกรณี  ถ้าเข้ามาเพราะศาลเรียกไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน  และถ้าเข้ามาในฐานะคู่ความฝ่ายที่ อาจเป็นฟ้องซ้อนได้
ฎีกาที่  3129/2524    ผู้ร้องตั้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาในคดีในฐานะคู่ความฝ่ายที่สาม    และเป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย    หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่       ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด   คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง   และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์หาใช่เป็นจำเลยไม่      ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยแล้วคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป....173 (1)
ถ้าศาลเรียกเข้ามาไม่สมัครใจเข้ามาไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน
ฎีกาที่  1337/2519     คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่  ต่อศาลขอแบ่งมรดก   คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกันจำเลยที่  2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วย    การที่ศาลเรียกให้เข้ามาตาม ป... มาตรา 57 (3) ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน



หลักเกณฑ์ข้อที่  3    ต้องเป็นเรื่องเดียวกันที่สืบสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกับคดีก่อน แม้จะเปลี่ยนแปลงข้ออ้างหรือสภาพแห่งข้อหาหรือเรียกร้องให้รับผิดในจำนวนเงินอื่น ๆ   ก็เป็นเรื่องเดียว
ฎีกาที่  1673/2517     เดิมจำเลยฟ้องให้โจทก์รับผิดฐานละเมิด      คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา   โจทก์กลับฟ้องว่าจำเลยแกล้งฟ้องโจทก์โดยไม่มีมูลขอให้ใช้ค่าเสียหาย    จำเลยให้การสู้คดีและฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดฐานละเมิดทำนองเดียวกับคดีก่อนและเป็นการละเมิดซึ่งกระทำในคราวเดียวกัน เพียงแต่ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกบางประการ ซึ่งจำเลยอาจเรียกร้องได้ในคดีเดิมอยู่แล้ว  ดังนี้   ฟ้องแย้งของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
-                   ถ้าเป็นสิทธิที่มีอยู่แล้วในขณะฟ้อง แต่เพิ่งพบระหว่างการพิจารณาคดีแรก ก็ต้องขอแก้ไข
เพิ่มเติมคำฟ้องจะมาฟ้องใหม่ไม่ได้เป็นฟ้องซ้อน  แต่ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ฎีกาที่  1803/2512   โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงาน  ก.. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชี   อยู่ในความรับผิดชอบระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก  9,600 บาทเช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามมาตรา 179,180  โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา   173 (1)
ข้อสังเกต   สิทธิที่เป็นมูลฟ้องต้องมีอยู่ก่อนหรือขณะฟ้องคดีแรก ถ้าไม่มีอยู่ตามฟ้องคดีแรกอาจเกิดขึ้นหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ไม่สามารถจะอ้างเห็นเป็นมูลฟ้องในคดีเดิมได้  ฟ้องโจทก์ที่ยื่นใหม่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อน
***ฎีกาที่  316/2511  เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า เพราะจำเลยให้เช่าช่วงและทำให้อาคารของโจทก์เสียหาย  ในระหว่างพิจารณาคดีนั้นสัญญาเช่าหมดอายุ      โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเรียกค่าเสียหายอีกโดยอ้างว่าสัญญาเช่าระงับแล้ว  ดังนี้   ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 173 เพราะมูลฟ้องของโจทก์คดีหลังเกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีเดิมแล้ว   จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกับคดีเดิม  (ฟ้องเดิมกับฟ้องใหม่อาศัยคนละเหตุกัน)
-  คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลไม่จำกัดว่าต้องฟ้องในศาลเดียวกัน  โจทก์จะฟ้องต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
หลักในเรื่องฟ้องซ้อนใช้กับคดีอาญาโดยอาศัยมาตรา 15   .วิอาญาด้วย
-  ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน    ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น